ลุงขายไอติมในสิงคโปร์กับใบอนุญาตขายบนท้องถนน
ส่วนหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของวัยเด็กของชาวสิงคโปร์หลายคนคือ การซื้อไอศกรีมจากลุงขายไอติมและรถเข็นพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์ของเขา ณ เดือนมกราคม พศ. 2567 มีเพียงใบอนุญาต 11 ใบ ที่ออกให้โดยกระทรวงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม หรือ Ministry of Sustainability and Environment (MSE) สำหรับการขายไอศกรีมตามท้องถนนที่ยังคงมีผลบังคับใช้ นี้เป็นการตอบคำถามในสภาจากสมาชิกพรรคแรงงาน ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่งถามว่ามีใบอนุญาตขายของตามท้องถนนสำหรับพ่อค้าไอศกรีมข้างทางได้รับอนุญาตออกมากี่ใบในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและมีกี่ใบที่ยังคงมีผลบังคับใช้
เขายังถามด้วยว่าใบอนุญาตจากพ่อค้าที่ไม่ได้ใช้งาน สามารถถ่ายโอนไปยังผู้สมัครใหม่ได้หรือไม่ และพ่อค้าไอศกรีมข้างทางจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อไปอีกนานแค่ไหน ซึ่งโครงการขายของตามท้องถนนมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวสำหรับบุคคลที่ไม่มีงานทำ บุคคลเหล่านี้ ได้รับการประเมินว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดีที่สุด ด้วยการให้ใบอนุญาตขายของตามท้องถนน แทนการช่วยเหลือทางการเงินอื่นๆ หรือโครงการจับคู่การจ้างงานที่เสนอโดยสำนักงานบริการสังคม ดังนั้นใบอนุญาตการขายของประเภทนี้ จึงเป็นใบอนุญาตส่วนตัวของผู้ถือและไม่สามารถถ่ายโอนได้
มีใบอนุญาต 21 ใบในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ในทศวรรษที่ผ่านมา มีการออกใบอนุญาต 21 ใบ ภายใต้โครงการขายของตามท้องถนนสำหรับการขายไอศกรีม จากนั้น 11 ใบยังคงมีผลบังคับใช้จนถึงมกราคมของปีนี้
ทำไมยังเก็บค่าใบอนุญาตขายของตามท้องถนน
ค่าใบอนุญาตปีละ 120 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นเงินจำนวนเงินที่มากพอสมควรสำหรับพ่อค้าที่มีรายได้น้อย กระทรวงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม (MSE) ควรจะพิจารณาไม่เก็บค่าใบอนุญาตินี้ ซึ่ง 120 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปีเป็นค่าธรรมเนียม โดยพื้นฐานแล้วไม่ได้ต้องการให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพ่อค้าเหล่านี้ ลำบากมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม แต่มีความจำเป็นในการบังคับใช้ทางกฎหมาย และยังมีข้อกำหนดการออกใบอนุญาตที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับค่าใบอนุญาตดังกล่าว
หากพิจารณาตามความจริงที่ว่าผู้ที่ได้รับใบอนุญาตไม่เหมาะสมสำหรับรูปแบบการจ้างงานอื่น ๆ หรือหน่วยงานบริการสังคมประเมินว่าใบอนุญาตเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการช่วยให้พวกเขาชั่วคราว จุดประสงค์ระยะยาวคือเพื่อให้คนเหล่านี้ได้งานที่ดีกับโอกาสในการทำงานที่ดีขึ้น
สำหรับการตอบคำถามในสภาเมื่อปี พศ.2559 นาย Masagos Zulkifi ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำในขณะนั้น กล่าวว่าโครงการขายของตามท้องถนนได้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 เป็นการดำเนินการครั้งเดียวเพื่อควบคุมจำนวนพ่อค้าตามท้องถนน และในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 โครงการขายของตามท้องถนนได้ถูกเปิดอีกครั้ง เพื่อช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวสำหรับผู้ที่ต้องการและมีความสามารถในการจ้างงานน้อย ให้ผ่านพ้นความยากลำบากทางการเงิน การขายของตามท้องถนนไม่ใช่การแก้ปัญหาถาวรสำหรับบุคคลที่พยายามหาเลี้ยงชีพ
คุณค่าทางวัฒนธรรมกับการซื้อไอติมบนถนน
กระทรวงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมในการขายของตามท้องถนนหรือไม่ ด้วยเหตุผลว่าพ่อค้าขายไอศกรีมเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของมรดกร่วมกันและเป็นสิ่งที่เราทุกคนจดจำขณะเติบโตขึ้นมา โดยความคิดเห็นของคนบางคนว่าการขายไอศกรีมในบางสถานที่ เช่น งานเทศกาล ตามสวนสนุกหรืองานแสดงสินค้า สามารถช่วยทำให้สถานที่นั้นมีชีวิตชีวามากขึ้น ซึ่งผู้ขายที่ได้รับใบอนุญาตจะเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าเพื่อเพิ่มความสนุกสนานภายในงาน
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจขายของตามท้องถนนเป็นงานระยะยาว จะดีกว่าถ้าหากพวกเขาอยู่ในศูนย์การค้าที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และเพื่อให้พ่อค้ามีฐานลูกค้าที่มั่นคงมากขึ้น โดยพื้นฐานแล้ว จะดูว่าเราสามารถช่วยเหลือพวกเขาให้หาอาชีพที่ดีกว่าได้อย่างไร มีโอกาสในการทำงานที่ดีกว่าสำหรับระยะยาวได้อย่างไร และมีความมั่นคงในอาชีพได้อย่างไร
ลุงขายไอติมในสิงคโปร์ เล่าเรื่องชีวิตการขายของบนถนน
ในการสัมภาษณ์กับ Mothership ในปี พ.ศ. 2561 พ่อค้าไอศกรีมสามคนได้เล่าแบ่งปันประสบการณ์ว่าพวกเขามักจะตื่นนอนตอนเช้าเพื่อไปเก็บไอศกรีมและน้ำแข็งแห้งจากสถานที่ขายส่งต่างๆ ก่อนที่จะตั้งรถเข็นของพวกเขาไว้ก่อนเที่ยง ในสองคนนั้นมีใบอนุญาตขายของตามท้องถนน ทำให้พวกเขาสามารถขายไอศกรีมได้ทุกที่ในสิงคโปร์ ในขณะที่อีกคนหนึ่งได้รับอนุญาตให้ขายไอศกรีมของเขาใน Ang Mo Kio เท่านั้น